ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ….(ฉบับแก้ไข58)

0
197

ดาวโหลด ==> ร่าง พรบ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ….(ฉบับแก้ไข2558)

ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)วันที่ 6 ส.ค.  2558 มีวาระการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ…..ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพ.ร.บ.มีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากในปัจจุบันผู้ผู้ประกอบกิจการธุรกิจดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่ผู้ประกอบธุรกิจนี้มีมาตราฐานที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการกำหนดมาตราฐานของธุรกิจนี้ และเสริมเสร้างศักยภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการและช่วยสร้างความสงบเรียบร้อยของสังคม

สำหรับเนื้อหาสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า ธุรกิจรักษาความปลอดภัย หมายความว่า ธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัย โดยจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตทำหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยในในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคล แต่ไม่รวมถึงการให้บริการรักษาความปลอดภัยโดยหน่วยงานของรัฐ ส่วนพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ให้หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต นอกจากนี้ยังคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลธุรกิจนี้

ทั้งนี้ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัทและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียนซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวมีอายุ 4 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต โดยบริษัทนี้ต้องมีจำนวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้มาสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียน และมีกรรมการเป็นบุคคลทีมีสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งบริษัทรักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่คณะกรรมการกำหนด เช่น กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย มีระบบบันทึกเหตุการณ์ประจำวันเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น และมีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติ ให้พนักงานทุกคนต้องมีการศึกษาภาคบังคับ หรือ สูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และต้องขอใบอนุญาต รวมถึงต้องมีสัญชาติไทยขณะที่พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องได้รับใบอนุญาตเป็นพนักงานฯจากนายทะเบียนและต้องไม่เป็นผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาให้ถึงที่สุดให้จำคุก ทั้งในความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือความผิดเกี่ยวกับเพศ นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ.นี้ยังได้มีการกำหนดโทษของบริษัทที่ทำธุรกิจรักษาความปลอดภัยและพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยมีโทษทั้งจำคุกตั้งแต่ 1ปีขึ้นไปหรือปรับตั้งแต่ 2หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของการฝ่าฝืน

คณะกรรมาธิการฯได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวให้มีความรัดกุมมากขึ้น พร้อมตั้งข้อสังเกตุให้คณะกรรมการกำกับธุรกิจการรักษาความปลอดภัย กำกับดูแลให้บริษัทธุรกิจรักษาความปลอดภัยมีความเข้มแข็งมั่นคง สามารถดำเนินธุรกิจและควบคุมดูแลตนเองได้ ในรูปแบบของกลุ่มหรือสมาคม และให้ลดบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้ธุรกิจนี้สามารถจดทะเบียนดำเนินการกับกระทรวงพาณิชย์แต่เพียงแห่งเดียวส่วนค่าปรับและค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับธุรกิจนี้ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำความตกลงกับกระทรวงการคลังให้นำเงินดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร